
อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรจะมีเมื่อคิดจะมาใช้ซิมเบี้ยน
1. โทรศัพท์มือถือ ซิมเบี้ยน (ไม่น่าบอกเลยนะว่าควรจะมี)
2. การ์ดหน่วยความจำภายนอก เช่น SD/MMC CARD, RS-MMC CARD (ปกติจะแถมมากับมือถือ)
3. คอมพิวเตอรฺ์ หรือ โน็ตบุ๊ค (อุปกรณ์ทั้งหมดทดสอบกับ WINDOWS XP)
4. อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่่างมือถือกับคอมพิวเตอร์ หรือ โน็ตบุ๊ค
- อินฟราเรด (INFRARED)
- บลูธูท (BLUETOOTH)
- สายดาต้าลิงค์ (DATA CABLE)
- การ์ดรีดเดอร์ (CARD READER)
2. การ์ดหน่วยความจำภายนอก เช่น SD/MMC CARD, RS-MMC CARD (ปกติจะแถมมากับมือถือ)
3. คอมพิวเตอรฺ์ หรือ โน็ตบุ๊ค (อุปกรณ์ทั้งหมดทดสอบกับ WINDOWS XP)
4. อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่่างมือถือกับคอมพิวเตอร์ หรือ โน็ตบุ๊ค
- อินฟราเรด (INFRARED)
- บลูธูท (BLUETOOTH)
- สายดาต้าลิงค์ (DATA CABLE)
- การ์ดรีดเดอร์ (CARD READER)
การ์ดหน่วยความจำภายนอก
หน่วยความจำภายนอก หรือการ์ดเพิ่มความจำของมือถือ ลักษณะการใช้งานเหมือนกับแผ่นดิสก์เก็ตขนาด 3.5 นิ้ว (นิยมเรียกว่า Drive A) ที่เราใช้กับคอมพิวเตอร์นั่นแหล่ะครับ แต่การ์ดเพิ่มความจำของมือถือ จะมีลักษณะเล็กกว่า ถ้าเป็น RS MMC ก็จะมีขนาดเล็กกว่า MMC แต่สามารถใช้งานได้เหมือนกัน (MMC = MultiMediaCard) หน่วยความจำภายนอก หรือการ์ดเพิ่มความจำของมือถือ ต้องใช้งานร่วมกับการ์ดรีดเดอร์ ถึงจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ เหมือนเกิดมาคู่กันยังงัยยังงั้น การ์ดเพิ่มความจำยังมีพื้นที่เก็บความจำต่าง ๆ กันดังนี้ 16 MB, 32 MB, 64 MB, 128 MB, 256 MB, 512 MB และมากกว่านี้ แต่ยังมีราคาแพง และยังไม่แพร่หลาย
![]() |
การ์ดรีดเดอร์กับหน่วยความจำภายนอกแบบต่าง ๆ |
อินฟราเรด (Infrared)
โดยปกติทั่วไปโน็ตบุ๊คจะมีอินฟราเรด ถ้ามือถือซิมเบี้ยนของคุณผู้ใช้มีอินฟราเรดด้วย ก้อยิ่งประหยัดเงินในกระเป๋า อินฟราเรดเป็นยังงัย ใช้งานยังงัย ดูของใกล้ตัวเลยครับ รีโมทคอนโทรล (REMOTE CONTROL) ที่เราเอาไว้กดเปลี่ยนช่องทีวี (โทรทัศน์) ที่ด้านบนของรีโมท จะมีอินฟราเรด และบนหน้าปัดทีวีก๊จะมีอินฟราเรด การใช้งานของมันก็คือ เมื่อเรากดเปลี่ยนช่องจากรีโมท อินฟราเรดจากรีโมทจะส่งข้อมูลไปยังอินฟราเรดบนทีวี และทีวีก็จะรับคำสั่งเปลี่ยนช่องให้ อินฟราเรดจึงเป็นการเชื่อมต่อไร้สายระหว่างเครื่องส่งและรับ
บลูธูท (Bluetooth)
อันนี้คุณผู้อ่านอาจจะไม่ค่อยรู้จักว่าจริง ๆ มันคืออะไร ผมเองก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกัน (อ้าว !!!?)
อันที่จริงบลูธูทก็ใช้งานเหมือนอินฟราเรดแหล่ะครับ แต่ว่ามันส่งสัญญาณได้ไกลกว่า เกิน 30 เมตร นั่นหมายถึง เราสามารถเชื่อมต่อกับมือถือที่มีบลูธูทเหมือนกันในขณะที่เครื่องทั้งสองนี้ห่างกันในระยะเกิน 30 เมตร แต่ถ้าคุณผู้ใช้ ลองส่งด้วยอินฟราเรด ท่านต่องเอามือถือมาวางใกล้ ๆ แล้วหันด้านที่มีอินฟราเรดมาจ่อกัน และลุ้นว่ามันจะส่งได้ไหม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบลูทูธ : บลูทูธ "ฟันสีฟ้า" เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอนาคต
อันที่จริงบลูธูทก็ใช้งานเหมือนอินฟราเรดแหล่ะครับ แต่ว่ามันส่งสัญญาณได้ไกลกว่า เกิน 30 เมตร นั่นหมายถึง เราสามารถเชื่อมต่อกับมือถือที่มีบลูธูทเหมือนกันในขณะที่เครื่องทั้งสองนี้ห่างกันในระยะเกิน 30 เมตร แต่ถ้าคุณผู้ใช้ ลองส่งด้วยอินฟราเรด ท่านต่องเอามือถือมาวางใกล้ ๆ แล้วหันด้านที่มีอินฟราเรดมาจ่อกัน และลุ้นว่ามันจะส่งได้ไหม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบลูทูธ : บลูทูธ "ฟันสีฟ้า" เทคโนโลยีไร้สายสำหรับอนาคต
สายดาต้าลิ้งค์ หรือ ดาต้าเคเบิ้ล (Data Cable)
คือการเชื่อมต่อข้อมูลที่ไม่ไร้สายนั่นเอง ถ้าเราใช้ มือถือซิมเบี้ยน ลืมเรื่องเจ้านี่ดีกว่า เพราะมันใช้งานยุ่งยาก รับ-ส่งข้อมูลก็ไม่ทันใจ แถมราคายังแพงเกินความจำเป็น ถ้าเทียบกับการ์ดรีดเดอร์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้ในกลุ่มมือถือธรรมดาที่ไม่มีหน่วยความจำภายนอก จะเรียกกว่ามันคนละชั้นกับคุณผู้อ่านก็ได้
การ์ดรีดเดอร์ (Card Reader)
คือเครื่องอ่านการ์ด ในที่นี้เอาไว้อ่านหรือเขียนพวกการ์ดหน่วยความจำภายนอก เช่น MMC, RS-MMC, MEMORY STICK หรือที่เรียกกัีนในชื่ออื่น ๆ แล้วแต่มือถือแต่ละยี่ห้อจะรองรับ การ์ดรีดเดอร์แบ่งออกได้หลายประเภท โดยแบ่งตามความสามารถในการอ่านการ์ด เช่น
2 in 1 คือ การ์รีดเดอร์ ที่อ่านการ์ดได้ 2 ประเภท เช่น อ่าน SD Card กับ MMC Card
6 in 1 หรือมากว่า 6 in 1 ขึ้นไป ก้อหมายถึงสามารถอ่านการ์ดได้ 6 ชนิดขึ้นไป
ถ้าคุณผู้ใช้ฝักใฝ่จะเล่นมือถือซิมเบี้ยนเพียงอย่างเดียว แนะนำให้ใช้การ์ดรีดเดอร์แบบ 2 in 1 ก็พอ เพราะมันมีขนาดเล็กพกพาสะดวก
2 in 1 คือ การ์รีดเดอร์ ที่อ่านการ์ดได้ 2 ประเภท เช่น อ่าน SD Card กับ MMC Card
6 in 1 หรือมากว่า 6 in 1 ขึ้นไป ก้อหมายถึงสามารถอ่านการ์ดได้ 6 ชนิดขึ้นไป
ถ้าคุณผู้ใช้ฝักใฝ่จะเล่นมือถือซิมเบี้ยนเพียงอย่างเดียว แนะนำให้ใช้การ์ดรีดเดอร์แบบ 2 in 1 ก็พอ เพราะมันมีขนาดเล็กพกพาสะดวก
![]() | ![]() | ![]() |
แบบ 23 in 1 | แบบ 2 in 1 | |
การ์ดรีดเดอร์ชนิดต่าง ๆ |

เมื่อเราได้มือถือซิมเบี้ยนมาพร้อมกับการ์ดหน่วยความจำ SD/MMC เป็นครั้งแรกในชีวิต หลายคนคงเหมือนกับผม คือจะมีอาการ งง ๆ มึน ๆ หาปุ่มเข้าใช้งานเมนูต่าง ๆ ไม่เจอ แต่ก็อาศัยเดาๆ ไปเรื่อย หลังจากที่เรากดปุ่มเข้าเมนู หน้าจอจะแสดงผล แบบรูปที่ 01 ไอคอนต่าง ๆ จะมีชื่อกำกับอยู่ด้านล่าง บ่งบอกถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่มือถือมีมาให้ ที่สำคัญก็คงเป็นเมนู Tools ถ้าเราลองเลื่อนมาที่เมนู Tools แล้วเลือกเข้าไป หน้าจอจะแสดงผลเหมือนรูปที่ 2 เมื่อเข้ามาในเมนู Tools ก็จะเจอกับเมนูต่าง ๆ อีกมากมายคุณผู้ใช้สามารถย้อนกลับไปยังเมนูหลักได้ด้วยการกดปุ่มซอฟท์คีย์ด้านขวามือ
![]() | ![]() |
รูปที่ 01 | รูปที่ 02 |
* ข้อสังเกต - คุณผู้ใช้ คงจะเห็นเหมือนกับผมที่ด้านล่างเมนู จะมีคำว่า Optins และ Exit / Back คุณผู้ใช้สามารถใช้ปุ่มซอฟท์คีย์ ที่อยู่ด้านใต้ของข้อความกดเข้าไปใช้งานได้ และถ้าเราลงโปแกรมเพิ่ม ก็จะมีไอคอนและชื่อโปรแกรมนั้นแสดงบนห
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น